วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย





การบอกทิศทางแบบมุมอาซิมัท (Azimuth)


มุมอะซิมุทคืออะไร

มุมอะซิมุท (Azimuth) คือมุมที่ใช้บอกตำแหน่งของพิกัดบนท้องฟ้า เช่น บอกตำแหน่งของดาวเพื่อตั้งกล้องดูดาว หรือบอกตำแหน่งของดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้าเพื่อตั้งจานดาวเทียม

การกำหนดมุมอะซิมุท

มุมอะซิมุทจะมีค่าเริ่มที่ 0 องศาที่ทิศเหนือ และมีค่าเพิ่มขึ้นตามเข็มนาฬิกาไปมีค่า 90 องศาที่ทิศตะวันออก 180 องศาที่ทิศใต้ และ 270 องศาที่ทิศตะวันตก

เช่น    ทิศทาง  ก    ทำมุมอะซิมุท  45   องศา   กับแนวทิศเหนือ
          ทิศทาง  ข    ทำมุมอะซมุท  225 องศา   กับแนวทางทิศเหนือ


การหาระยะทาง

       ระยะบนแผนที่ คือ ระยะราบ (Horizontal Distance) เพราะแผนที่คือ การฉาย (Project) รายละเอียดภูมิประเทศจริงลงบนพื้นระนาบหรือพื้นราบ ฉะนั้นแผนที่จะมีมาตราส่วนเดียวกันหมดทั้งระวาง การหาระยะทางบนแผนที่จึงสามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ


1. การหาระยะโดยอาศัยมาตราส่วนของแผนที่ เช่น เราวัดระยะบนแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ได้ 3 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นระยะราบในภูมิประเทศจริงคือ 3 X 50000 = 150,000 ซ.ม. หรือ 1,500 เมตร หรือ 1.5 ก.ม.


2. การหาระยะโดยอาศัยมาตราส่วนแบบบรรทัด

      1 ให้กระทำโดยนำขอบบรรทัดหรือขอบกระดาษเรียบๆ วางทาบให้ผ่านจุดสองจุดที่ต้องการหาระยะทางบนแผนที่แล้วทำเครื่องหมายไว้ที่ขอบกระดาษแสดงตำแหน่งของจุดทั้งสอง

      2 นำขอบกระดาษไปวางทาบที่มาตราส่วนเส้นบรรทัด อันมีหน่วยวัดระยะตามต้องการแล้วอ่านระยะบนมาตราส่วนเส้นบรรทัด ระยะที่ได้จะเป็นระยะราบในภูมิประเทศจริง


*********************************************************************************

การอ่านและแปลความหมายของแผนที่


การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจ จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบของแผนที่ และทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะแปลความหมายและใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศแบบลายเส้นซึ่งเป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่แพร่หลายในโลก
ปัจจุบันนักวิชาการได้คิดหาระบบและสัญญลักษณ์ที่เป็นสากล ในการกำหนดตำแหน่ง เช่น พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใดๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถ กำหนดด้วยค่าละติจูด (Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือที่เรียกว่า เส้นเมอริเดียน
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ นอกจากแสดงให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้ง ระยะทาง และทิศทาง สิ่งสำคัญของแผนที่ชนิดนี้คือ แสดงความสูงต่ำ และทรวดทรงแบบต่างๆ ของภูมิประเทศ การแสดงลักษณะภูมิประเทศบนแผนที่ มีหลายวิธี เช่น
1. แถบสี ใช้แถบสีแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวแสดงพื้นที่ราบ สีเหลืองจนถึงสีส้มแสดงบริเวณที่เป็นที่สูง สีน้ำตาลเป็นบริเวณที่เป็นภูเขา
2. เงา การเขียนเงานั้นตามธรรมดานั้น จะเขียนในลักษณะที่มีแสงส่องมาจากทางด้านหนึ่ง ถ้าเป็นที่สูงชันลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง วิธีเขียนเงาจะทำให้จินตนาการถึงความสูงต่ำได้ง่ายขึ้น
3. เส้นลาดเขา เป็นการเขียนลายเส้นเพื่อแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ ลักษณะเส้นจะเป็น เส้นสั้นๆ ลากขนานกัน ความหนาและช่วงห่างของเส้นมีความหมายต่อการแสดงพื้นที่ คือ ถ้าเส้นหนาเรียงค่อนข้างชิด แสดงภูมิประเทศที่สูงชัน ถ้าห่างกันแสดงว่าเป็นที่ลาด
4. แผนที่ภาพนูน แผนที่ชนิดนี้ถ้าใช้ประกอบกับแถบสี จะทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
5. เส้นชั้นความสูง คือเส้นสมมุติที่ลากไปตามพื้นผิวโลกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เท่ากัน เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจึงแสดงลักษณะและรูปต่างของพื้นที่ ณ ระดับความสูงหนึ่งเท่านั้น

ตำแหน่งที่ตั้ง









วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

`ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เวปบลอก ครู นัฐฐา จีนเชื่อม

“ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้ ไม่ต้องไปตามอย่างในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่น่าที่จะเจริญ ไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลจากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย” (พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๔)



คติประจำใจของครูผู้สอน    ค



ขอต้อนรับนักเรียนและทุกท่านที่เข้าชมเว็บบล็อกสื่อการศึกษาของครูนัฐฐา จีนเชื่อม
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เว็บบล็อกสื่อการศึกษาอีกทางเลือกที่ช่วยนำพานักเรียนให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนรู้ในชั้นเรียน อีกก้าวหนึ่งสำหรับการพัฒนาสื่อการศึกษาของครูพระหฤทัยคอนแวนต์


 
Blogger Templates